04.05.18

การเรียนภาษาอื่น: การออกกำลังกายเพื่อใช้สมอง

By Mick Green, translated by Khun Ann

ผมทำงานเป็นครูมาตลอดชีวิต ผมเรียนจบมาทางด้านเศรษฐศาสตร์และทำงานเป็นครูในโรงเรียน 2 แห่งในประเทศออสเตรเลียและ โรงเรียนนานาชาติ 5 แห่งในประเทศคูเวต ซูดาน จีน กัมพูชาและโมแซมบิค

ผมสามารถใช้ภาษาของแต่ละประเทศในการสื่อสารทั่วไป เช่นซื้อของและสั่งอาหารทานเองได้ที่ ร้านอาหาร แต่ผมไม่เคยเรียนภาษาอาราบิค แมนดาริน เขมรหรือโปรตุเกส จนกระทั่งผมได้มาตั้งรกราก ที่ประเทศไทยหลังเกษียณและคิดว่าผมต้องพยายามเรียนภาษาอื่นและที่นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ การตั้งข้อสังเกตุของผม

ภรรยาและผมสมัครเรียนภาษาไทยในโรงเรียนสอนภาษาในอำเภอหัวหิน เราเลือกเรียนแบบ ตัวต่อตัวโดยจะเรียนสองครั้งต่อสัปดาห์ เรามีหนังสือมาอ่านและต้องสอบให้ผ่านตามมาตรฐานที่กำหนด หลังจากใช้เวลา 90 นาทีในการเรียน ผมรู้สึกเหนื่อยและต้องการที่จะพัก ดังนั้นผมเลยหยุดที่จะไป ออกกำลังกาย เพราะกล้ามเนื้อของผมอ่อนล้าและสมองก็ไม่ทำงาน ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่แตกต่าง จากการเรียน ในมหาวิทยาลัยที่มีแต่การจดบันทึกและเดินออกมาด้วยความรู้สึกสบายๆ

ผมรู้สึกไม่ชินกับบทเรียนเหล่านี้และเมื่อเริ่มเรียนผมคิดว่าผมไม่สามารถพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้ แต่มันไม่ใช่ อย่างที่คิดเพราะเมื่อผมเริ่มเรียนไปเรื่อยๆ ผมรู้คำศัพท์มากขึ้นและได้ใช้คำใหม่ๆในสถานการณ์ที่ แตกต่างกัน การออกเสียงของภาษาไทยมีทั้งหมด 5 เสียง ตอนเริ่มเรียนผมไม่สามารถแยกโทนเสียงที่ แตกต่างกันได้ แต่หลังจากนั้น ผมก็เริ่มตั้งใจฟังเสียงที่คนไทยพูดและมันก็เริ่มชัดมากขึ้น ถึงแม้ว่า ผมจะพูดไทยไม่ชัดแต่ผมก็รู้สึกมั่นใจมากขึ้นที่จะพูดภาษาไทย จากการที่จะสั่งไวน์ 3 แก้วก็ได้เป็นไวน์ 3 ขวดแทน

การเรียนเขียนภาษาไทยทำให้ผมได้รื้อฟื้นความทรงจำสมัยเรียนหนังสือ ต้องเริ่มจากการฝึกเขียน ตัวหนังสือทุกตัว แต่ที่น่าแปลกใจ ผมสามารถเขียนภาษาไทยได้สวยกว่าภาษาอังกฤษแม้ว่าการเขียน ภาษาไทยจะต้องใช้ความประณีตในการเขียน

Early attempt at letter writing

Getting better at writing

Improved letter writing

ผมไม่สามารถนำเอาเรื่องการออกกำลังกายในยิมกับการใช้สมองในการเรียนภาษาอื่นมารวมกันได้ จนกระทั่ง ภรรยาของผมมีโอกาสได้เข้ารับการอบรมกับ Dr Dena Mehmedbegovic ที่ประเทศฮ่องกง และการที่ได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับ ‘Our Health Linguistic Diet’ ที่มาจากเว็บไซด์ http://healthlinguisticdiet.com, ซึ่งแนวคิดและการเปรียบเทียบในหนังสือทำให้ผมเกิดการรับรู้มากขึ้น ผมใช้เวลาเป็นปี ในการออกกำลังกายแบบ incidental exercise ด้วยการเดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟท์หรือ การถือถุงกับข้าว ที่เหมือนกับเป็นการยกน้ำหนัก เพื่อให้ร่างกายของผมได้ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน โดยไม่ต้องเข้าโรงยิม และตอนนี้ผมก็ใช้วิธีนี้กับการเรียนภาษาไทยของผมในทุกครั้งที่มีโอกาส เช่น เมื่อรถติดไฟแดง ผมก็จะอ่านภาษาไทย บนป้ายทะเบียนรถที่จอดอยู่ข้างหน้าหรือหัดอ่านคำภาษาไทย ที่อยู่บนป้ายโฆษณา ความรู้สึกของ การประสบความสำเร็จมันยิ่งใหญ่มากซึ่งผมเคยคิดว่าผมไม่สามารถ ประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาไทยมาก่อน แต่ตอนนี้ ผมสามารถออกกำลังกายที่ยิมและเรียน ภาษาไทยที่โรงเรียนไปพร้อมๆกันแล้ว


About the author

Mick Green grew up and was educated in Melbourne, Australia. He studied economics and politics at university and after briefly working in government and banking entered the teaching profession. He has taught a range of subjects but predominantly IB Diploma Programme economics. He has taught in international schools in Kuwait, Sudan, Cambodia and China for the last 30 years. Mick has now retired and splits his time between Hua Hin, Thailand and Melbourne.

BlogAll posts

Central Dubai sunset

24.08.23

Insight into struggles of Arabic as the mother tongue in Dubai

Image above: Central Dubai sunset In December 2020 my husband and me found ourselves in Dubai More

23.05.23

‘Now or never!’:
Insights into bilingual parenthood

After my presentation on the cognitive benefits of bilingualism and Healthy Linguistic Diet approach at VIII More

21.02.22

International Mother Tongue Day 2022

‘I speak Yoruba at home, but until recently I thought that ‘bilingual’ applies only to those More

26.03.21

International Day of Multilingualism

The 27th of March marks the International Day of Multilingualism. In our previous blog http://healthylinguisticdiet.com/international-mother-tongue-day-and-hld-5th-birthday/ we have More